วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 5 สถาบันสนับสนุนทางธุรกิจ

   สถาบันสนับสนุนทางธุรกิจ       
        สถาบันการเงินถือว่าเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญของธุรกิจ และเป็นหน่วยงานที่ให้บริการทางด้านการเงินแก่ธุรกิจทุกประเภท โดยเฉพาะกิจการธนาคาร ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่มีความจำเป็นและสำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจ
ความหมายของธนาคาร
          ธนาคาร คือ สถาบันการเงินทางธุรกิจที่ทำหน้าที่ระดม เงินทุนจากผู้ที่มีเงินเหลือใช้ และต้องการเก็บออมด้วยการรับฝากเงิน โดยจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนในรูปดอกเบื้ยและใช้เงินทุนนั้นทำประโยชน์ต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของแต่ละธนาคารและให้บริการอื่นๆ
ประเทศไทยแบ่งธนาคารออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
          1. ธนาคารแห่งประเทศไทย
          2. ธนาคารเฉพาะกิจ
          3. ธนาคารพาณิชย์
1. ธนาคารแห่งประเทศไทย
          ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธนาคารกลาง หรือ ธนาคารแห่งชาติ ใช้อักษรย่อว่า ธปท.   เป็นสถาบันในการบริการควบคุมการเงินในระดับสูงของประเทศ ซึ่งทุกประเทศจะต้องมีธนาคารกลางเป็นผู้ควบคุมการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามกฎระเบียบที่วางไว้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485
"
ธนาคารแห่งประเทศไทย" (Bank of Thailand) มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ออกธนบัตรและพิมพ์ธนบัตรโดยร่วมมือกับกระทรวงการคลัง
2.
เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ รับฝากเงิน ตรวจสอบการให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์
3.
เป็นนายธนาคารของรัฐบาล คือ การเก็บรักษาเงินฝากของรัฐ เป็นตัวแทนของรัฐในด้านการเงินทั้งในและต่างประเทศ และเป็นผู้ให้กู้ยืมแก่รัฐบาล
4.
ควบคุม ตรวจสอบสถาบันการเงินเพื่อความมั่นคงของประชาชนที่ใช้บริการของสถาบันการเงิน และกำกับให้สถาบันการเงินดำเนินการอยู่ในขอบเขตแห่งกฎหมาย
5.
ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หมายถึง การควบคุมการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หลักทรัพย์ต่างประเทศ กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินตราสกุลอื่นๆ
6.
รักษาทุนสำรองระหว่างประเทศให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจโดยส่วนรวมทั้งภายนอกและภายในประเทศ
7.
กำหนดนโยบายการเงินของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจโดยส่วนรวมของประเทศ
2. ธนาคารเฉพาะกิจ
          ธนาคารเฉพาะกิจ หมายถึง ธนาคารพิเศษที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
          1.
ธนาคารออมสิน(The Government Saving Bank ) ตั้งขึ้นเพื่อนำเงินฝากของประชาชนและผลประโยชน์ทางการค้ามาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศ 
          2. ธนาคารอาคารสงเคราะห์(Government Housing Bank) ตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมการนำเงินไปลงทุนเกี่ยวกับการซื้อที่ดิน และการสร้างอาคารที่อยู่อาศัย
          3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives) ตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรของประเทศ ให้เกษตรกรกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำ
          4. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Export-Import Bank of Thailand)  จัดตั้งเพื่อให้บริการด้านการเงินเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออกสินค้าหรือบริการ รวามทั้งส่งเสริมการลงทุนภายในต่างประเทศ
          5. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย จัดตั้งเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจในด้านการส่งเสริมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม
3. ธนาคารพาณิชย์
          ธนาคารพาณิชย์ หมายถึง ธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบการธนาคารพาณิชย์ และมีความหมายรวมถึงสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ หรือหมายถึงการประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันได้กำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง
ธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่หลักดังนี้
1.
รับฝากเงินจากประชาชนและให้ผลตอบแทนแก่เจ้าของเงินเป็นดอกเบี้ยแบ่งเป็นดังนี้
     -
ฝากประจำ มีกำหนดแน่นอนให้เจ้าของเงินทวงถาม
     -
ฝากเผื่อเรียก การจ่ายเงินแก่เจ้าของเงินเมื่อไรก็ตามที่ทวงถาม
     -
ฝากกระแสรายวัน การจ่ายเงินแก่เจ้าของเงินทวงถามได้ทุกเมื่อด้วยเช็ค
2.
สร้างเงินฝาก คือ การนำเงินฝากไปลงทุนต่าง ๆ เช่น ให้กู้ยืม ซื้อหุ้น ซื้อพันธบัตรรัฐบาล ฯลฯ
3.
การโอนเงินระหว่างธนาคารในท้องถิ่นและระหว่างประเทศ
4.
การเรียกเก็บเงิน โดยเรียกเก็บตามเช็ค ตั๋วเงิน ดร๊าฟ ที่ครบกำหนดโดยลูกค้าไม่ต้องเก็บเงินเอง
5.
การให้เช่าตู้นิรภัยเพื่อเก็บรักษาขอมีค่าของลูกค้าที่มาเช่าไว้ เพื่อความปลอดภัยที่มั่นคงของทรัพย์สิน
6.
การบริการเป็นตัวแทน เช่น ซื้อขายหุ้น ชำระค่าทะเบียนรถยนต์ ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า เสียภาษี ฯลฯ
7.
บริการการค้า เช่น การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ การออกใบค้ำประกันการซื้อขาย
บริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์
บริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

      1.
บริษัทเงินทุน หมายถึง บริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนอันได้แก่ กิจการเงินทุน เพื่อการพาณิชย์ กิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนา กิจการเงินทุนเพื่อการจำหน่ายและบริโภค และ กิจการเงินทุนเพื่อการเคหะ
     2.
บริษัทหลักทรัพย์ หมายถึง บริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประกอบกิจการด้านการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ทำการค้าหลักทรัพย์ ให้คำปรึกษาในการลงทุนกิจการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ และ กิจการจัดการลงทุน เป็นต้น
     3.
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (บงล.) หมายถึง บริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ เงินทุน และ หลักทรัพย์ ควบคู่กันไปทั้งสองอย่าง ซึ่งจัดว่าเป็นกลุ่ม "ใหญ่ที่สุด" ของกลุ่มบริษัทเหล่านี้

บริษัทเงินทุน
บริษัทเงินทุนมีลักษณะการประกอบธุรกิจคล้ายคลึงกับธนาคารพาณิชย์กล่าวคือ ทำหน้าที่ระดมเงินจากประชาชนด้วยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน และ นำเงินนั้นไปหาผลประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด การดำเนินงานของบริษัทเงินทุนแบ่งออกเป็น

         1.
การให้บริการทางการเงินแก่ธุรกิจรายใหญ่..เป็นบริการคล้ายคลึงกับธนาคารพาณิชย์แต่ไม่สามารถให้บริการเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ และ บัญชีกระแสรายวันที่ใช้เช็คสั่งจ่ายในการรับฝากเงิน บริษัทเงินทุนจะไม่ออกสมุดรับฝากเงินเพื่อเป็นหลักฐานการฝากเงิน แต่จะออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่ผู้ให้กู้ยืม(ผู้ฝาก) โดยจะกำหนดเวลาชำระคืนเอาไว้ เช่น เมื่อทวงถาม 1 เดือน 3 เดือน หรือ 1 ปี การระดมเงินออมของบริษัทเงินทุนจะเสียเปรียบธนาคารพาณิชย์เพราะมีการกำหนดวงเงินขึ้นต่ำที่จะกู้ยืมจำนวนสาขามีน้อยหรือไม่มีเลย แต่การให้ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์สามารถทดแทนความเสียเปรียบข้างต้นได้ สำหรับการใช้สินเชื่อแก่ธุรกิจรายใหญ่มีการให้กู้ทั้งประเภทระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี หรือ ระยะยาวเกิน 1 ปี
        2.
การให้กู้ยืมแก่ธุรกิจการค้าทั่วไป เป็นการให้บริการทางการเงินเหมือนธนาคารพาณิชย์ คือ เป็นการให้กู้ยืมแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดเล็ก บริษัทการค้าธรรมดา ร้านค้า และผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ วิศวกร ซึ่งลักษณะการให้กู้จะเป็นการให้กู้ในวงเงินไม่สูงนัก และ เป็นการกู้ระยะสั้น
        3.
การให้กู้ยืมแก่ผู้บริโภค เป็นการให้บริการเงินกู้แก่บุคคลธรรมดา เพื่อการศึกษา เดินทาง หรือการซ่อมแซมบ้านเรือน การให้เงินกู้เพื่อผ่อนส่งสินค้าเมื่อตกลงจะให้เช่าซื้อ และการให้กู้ยืนแก่ผู้ดำเนินธุรกิจ การจำหน่ายสินค้าโดยการให้เช่าซื้อเช่น รถยนต์ รถแทรกเตอร์ ตลอดจนเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ ระยะเวลาการกู้เงินเป็นระยะป่านกลางไม่เกิน 3 ทั้งนี้รวมถึงการให้กู้เพื่อซื้อบ้านและที่ดิน ซึ่งธนาคารพาณิชย์และเครดิตฟองซิเอร์เข้ามาบริการด้วย

บริษัทหลักทรัพย์
     
บริษัทหลักทรัพย์เป็นบริษัทรับอนุญาตที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับหลักทรัพย์รวมทั้งการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนซึ่งเป็นธุรกิจสำคัญ โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กสต.) บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการต่าง ๆ ดังนี้
           1.การรับประกันการขายหุ้นหรือหุ้นกู้ออกใหม่(underwriting) โดยบริษัทหลักทรัพย์จะเป็นตัวกลางระหว่างบริษัทที่ต้องการเงินเพิ่มทุนจำนวนมากและในเวลาจำกัด กับผู้ที่จะลงทุนซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้ บริษัทหลักทรัพย์จะทำหน้าที่วิเคราะห์ฐานะของบริษัท รวบรวมข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน และเผยแพร่ให้ผุ้ลงทุนทราบ
บริษัทหลักทรัพย์จะประกันการขายหุ้น โดยอาจจะรับประกันการจำหน่าย ถ้าหากขายหุ้นได้ไม่หมดก็จะรับซื้อไว้เอง หรืออาจเป็นเพียงตัวกลางการขายหุ้นโดยไม่มีหน้าที่รับผิดชอบในการซื้อหุ้น หรือหุ้นกู้นั้น ๆ เมื่อขายไม่หมด บริษัทหลักทรัพยืจะได้รับค่าธรรมเนียมคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาหุ้น หรือ หุ้นกู้ที่นำออกขาย
          2.
การค้าหลักทรัพย์ คือ การที่บริษัทหลักทรัพย์ซื้อและขายหุ้นเพื่อการลงทุนของบริษัทเอง ถือว่าเป็นการลงทุนโดยหวังผลประโยชน์จากเงินปันผลของหุ้นที่ได้ซื้อไว้
          3.
การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ โดยเป็นตัวแทนทำการแทนลูกค้าในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์(ไม่ได้ลงทุนเอง) บริษัทหลักทรัพย์จะคิดค่าบริการเท่ากับร้อยละ 0.5 ของราคาหุ้นที่ซื้อและขายแต่ละครั้ง พร้อมทั้งทำหน้าที่โอนหุ้นให้กับผู้ซื้อและผู้ขาย
          4.
การจัดการลงทุน การประกอบธุรกิจจัดการกองทุนรวม เดิมมีเพียงบริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม ที่ได้รับอนุญาตทำธุรกิจประเภทนี้ ต่อมาทางการได้อนุญาตให้มีการจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม(บลจ.) เพิ่มขึ้นในปี 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีผู้ลงทุนประเภทสถาบันในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น เป็นการสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดหลักทรัพย์
          5.
การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน คือ การให้คำแนะนำแก่ประชาชนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวกับการวิเคราะห์และประเมินมูลค่าของหลักทรัพย์หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ของธุรกิจและกิจการของธุรกิจโดยได้รับค่าตอบแทนในรูปของค่าธรรมเนียม

บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์
       
บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ตั้งขึ้นครั้งแรกในรูปของบริษัทค้าหลักทรัพย์ก่อนเมื่อ พ.ศ.2496 โดยใช้ชื่อว่าบริษัท เบิร์ด จำกัด ในระยะแรกบริษัทนี้ได้ประกอบกิจการการสั่งสินค้าเข้าและการส่งออกเป็นหลักจนกระทั่ง พ.ศ.2506 จึงได้ดำเนินการธุรกิจนายหน้าค้าหุ้นหรือหลักทรัพย์อย่างจริงจัง และ ในพ.ศ.2503 กลุ่มเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศได้จัดตั้งสถาบันการเงินประเภท บริษัทจัดการลงทุน(Investement Management Company) ซึ่งดำเนินกิจการลักษณะ กองทุนรวม(Mutual Fund) โดยใช้ชื่อว่า กองทุนรวมไทย และ ในพ.ศ.2505 กลุ่มอุตสาหกรรมไทยเอกชนร่วมกันจัดตั้งกิจการดำเนินงานในลักษณะสถานปริวรรตหุ้น (Stock Exchange)หรือที่เรียกว่าตลาดหลักทรัพย์โดยใช้ชื่อว่า บริษัท ตลาดหุ้นกรุงเทพ จำกัด (Bangkok Stock Exchange) ในปีต่อ ๆ มามีบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 
       
ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ คือ ธุรกิจที่ประกอบกิจการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีการรับจำนอง รับซื้ออสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาขายฝาก

       
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ระบุว่าธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หมายถึง ธุรกิจฟองซิเอร์ประเภท (1) กิจการเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่ง กิจการเครดิตฟองซิเอร์หมายถึง กิจการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าปกติ โดยที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 139 ระบุว่า อสังหาริมทรัพย์หมายถึง ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย สำหรับเครื่องจักรจึงไม่เป็นอสังหาริมทรัพย์ตามนิยามในประมวลกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น การรับจำนองเครื่องจักรจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ของธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ด้วยเหตุผลข้างต้น ทั้งนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับการรับจำนองเครื่องจักรอาจสอบถามได้ที่สำนักงานทะเบียนเครื่องจักรกลาง โทร. 02-202-4068 หรือทางเว็บไซต์

       
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการระดมทุนด้วยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป เพื่อนำมาให้ประชาชนกู้เงินไปซื้อที่ดินและการสร้างที่อยู่อาศัย ดังต่อไปนี้

       -
ให้กู้โดยมีบ้านและที่ดินค้ำประกัน
       -
ซื้อบ้านและที่ดินโดยให้สิทธิผู้ขายที่จะไถ่ถอนคืนได้
       -
ขายบ้านและที่ดินโดยวิธีเช่าซื้อ 


1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ3 พฤษภาคม 2563 เวลา 03:13

    นี่คือประกาศสาธารณะทั่วไปจาก Mayo Clinic และเราสนใจที่จะซื้อไตถ้าคุณสนใจที่จะขายไตโปรดติดต่อเราโดยตรงทางอีเมลของเราด้านล่างที่
    mayocareclinic@gmail.com
    หมายเหตุ: นี่เป็นธุรกรรมที่ปลอดภัยและรับประกันความปลอดภัยของคุณ
    กรุณาส่งข้อความอีเมลถึงเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

    ตอบลบ