วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 4 แหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ

แหล่งเงินทุนในการประกอบธุรกิจ
          ความหมายของเงินทุน  เงินทุน หมายถึง สิ่งที่กิจการผู้ประกอบการหรืององค์กรจัดหามาเพื่อใช้เป้นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนในการดำเนินธุรกิจโดยอาจมีการกำหนดค่าขึ้นเป็นหน่วยเงินตร และพยายามรักษาค่าให้คงที่อยู่เสมอ
ประโยชน์ของเงินทุน มี 3 ประการ คือ
          1. เพื่อใช้จ่ายตามความจำเป็น
          2. เพื่อเป็นเงินสดสำรองไว้ยามฉุกเฉิน
          3. เพื่อเป็นการสะสมมูลค่า
ประเภทและลักษณะของเงินทุน
          เงินทุนที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
          1. เงินทุนคงที่ หมายถึง เงินทุนที่องค์กรธุรกิจจัดหาเพื่อนำมาใช้ในการจัดหาทรัพย์สินถาวร
            ( ทรัพย์สินถาวร หมายถึง สินทรัพย์ที่อายุการใช้งานนานเกินกว่า 1 ปี เช่น อาคาร เครื่องจักร เครื่องใช้สำนักงาน)
        2. เงินทุนหมุนเวียน หรือทุนดำเนินการ หมายถึง เงินทุนที่องค์กรจัดหา เพื่อนำมาใช้ในการจัดหาทรัพย์สินหมุนเวียนหรือใช้ในการดำเนินกิจการ
            (ทรัพย์สินหมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่อายุการใช้งานไม่เกิน 1 ปี เช่น เงินเหรียญ ธนบัตร เช็ค)
          แหล่งเงินทุนในการประกอบธุรกิจ
          ประเภทแหล่งเงินทุนในการดำเนินธุรกิจ สามารถจัดหาจากแหล่งดังต่อไปนี้
          1. แหล่งเงินทุนระยะสั้น ธุรกิจสามารถจัดหาเงินทุนระยะสั้นได้จากแหล่งเงินทุน 3 ประเภท ได้แก่
                   1.1 สินเชื่อทางการค้า
                   1.2 ตราสารพาณิชย์
                   1.3 เงินกู้ระยะสั้น
          2. แหล่งเงินทุนระยะปานกลาง เป็นการจัดหาเงินทุนที่มีอายุเกิน 1 ปี – 5 ปี มีลักษณะเป็นการจัดหาแบบกำหนดการจ่ายคืน และการเช่า
          3. แหล่งเงินทุนระยะยาว  เป็นการจัดหาเงินทุนสำหรับขยายกิจการ ซึ่งมักจะจัดหาในรูปของแหล่งเงินทุนภายใน และภายนอก  ได้แก่
                   3.1 แหล่งเงินทุนภายใน เช่น  การกู้ยืมจากผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น
                   3.2 แหล่งเงินทุนภายนอก เช่น การซื้อธนบัตร หุ้นกู้ หุ้นทุน
แหล่งที่มาของเงินทุนในการประกอบธุรกิจ
          ธุรกิจจัดหาแหล่งที่มาของเงินทุนได้หลายวิธี ซึ่งสรุปได้เป็น 4 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
          1. เงินทุนส่วนตัว  เป็นเงินทุนส่วนตัวของผู้ประกอบการที่นำมาลงทุนในธุรกิจประเภทต่างๆ
          2. การระดมเงินทุน  ธุรกิจ อาจระดมเงินทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชน เป็นต้น
          3. การกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนในระบบ
                   3.1 การกู้ยืมผ่านธนาคารพาณิชย์
                   3.2 ผ่านสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์
          4. การกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนนอกระบบ
                   4.1 การซื้อขายลดเช็ค
                   4.2 การกู้ยืมจากนายทุนเงินกู้
                   4.3 เครดิตการค้า
                   4.4 การเล่นแชร์
                   4.5 การจำหน่ายพันธบัตรและหุ้นกู้
                   4.6 สำนักงานเงินกู้เพื่อส่งเสริมการค้า
ประเภทของธุรกิจที่อยู่ในข่ายให้กู้ยืมเงิน
          1. ธุรกิจในครอบครัว
          2. ธุรกิจอุตสาหกรรมหัตถกรรม
          3. ธุรกิจบริการ
          4. ธุรกิจอุตสาหกรรมโรงงาน
ปัจจัยที่กำหนดความเหมาะสมของการเลือกใช้แหล่งเงินทุน
          1. จังหวะเวลาในการใช้เงินทุน
          2. ความสะดวกในการจัดหาเงินทุน
          3. พิจารณาถึงโครงสร้างของเงินทุน คือ พิจารณาส่วนผสมของหนี้กับทุน จะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับของนักลงทุน
          4. ต้นทุนของเงินทุน เช่น ดอกเบี้ย ฯลฯ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น